ค่า Stiffness เป็นค่าที่บอกถึงความแข็งของบอร์ดยืนพายที่คุณใช้ โดย SUP ที่มี Stiffness ที่ดีนั้นจะสามารถสังเกตได้ง่ายๆ จากเวลาที่เราขึ้นไปยืนบนบอร์ดแล้วบอร์ดไม่เกิดการแอ่นตัวหรือแอ่นตัวน้อยมากๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้คุณไม่จำเป็นต้องออกแรงพายมากกว่าปกติ
แต่กลับกันถ้าเป็นบอร์ดที่มี Stiffness ที่ไม่ดีนั้นจะส่งผลต่อการควบคุมทิศทางและการทรงตัว โดยเมื่อเราขึ้นไปยืนบน SUP ที่มี Stiffness ที่ไม่ค่อยดีนั้น จะเกิดการแอ่นตัว ทำให้ SUP เกิดการต้านน้ำที่มากกว่าระดับปกติ คุณจึงจำเป็นต้องออกแรงมากขึ้นในการพาย สุดท้ายคุณก็อาจจะรู้สึกเหนื่อยและหมดสนุกไปเลย
Stiffness เป็นค่าที่บอกถึง ความแข็งของ SUP ที่คุณใช้
เมื่อเรารู้แล้วว่า Stiffness คืออะไรแล้วก็จะเห็นได้ชัดเลยว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะมันส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งาน SUP สำหรับคนที่มีบอร์ดยืนพายเป็นของตัวเองหรือกำลังมองหาบอร์ดที่มีประสิทธิภาพดีๆ สักตัว แล้วอยากรู้ว่าเราสามารถวัดค่า Stiffness ได้ยังไง ในบทความนี้เราจะมาบอกวิธีง่ายๆ ที่เราสามารถนำมาวัดค่า Stiffness ของบอร์ดด้วยการวัดค่า Sag นั้นเอง
ซึ่งเราก็ขอบอกไว้ก่อนเลยว่าการวัดค่า Sag อาจจะไม่ใช้วิธีที่ดีที่สุดแต่เป็นวิธีที่ง่ายและเห็นภาพที่สุดสำหรับการวัดค่า Stiffness
โดยการวัดค่า Sag นั้นเริ่มจาก
การวัดค่า Sag นั้นก็จะดูว่าบอร์ดไหนที่เมื่อเราถ่วงน้ำหนักลงไปแล้วทดสอบออกมาได้ค่า Sag ตั้งแต่ 4 ซม. ขึ้นไปแสดงว่า บอร์ดตัวนั้นมีค่า Stiffness ที่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งมันจะส่งผลให้บอร์ดของคุณเกิดการแอ่นตัวได้ง่าย และส่งผลให้บอร์ดตัวนั้นมีการต้านน้ำมากกว่าปกติ
เทคโนโลยีจำนวนห้องลมแบบ Double Chamber
บอร์ดแบบสูบลมโดยส่วนใหญ่เกือบ 80 เปอร์เซ็นต์จะผลิตออกมาแบบห้องลมเดียวเพราะว่าการผลิตบอร์ดแบบ 2 ห้องลมนั้นจะมีขั้นตอนการผลิตและใช้ต้นทุนสูงขึ้นมากว่า แต่บอร์ดแบบ 2 ห้องลมนั้นจะมี Stiffness ที่ดีกว่าบอร์ดสูบลมแบบ 1 ห้องลม เพราะว่าบอร์ดแบบ 2 ห้องลมจะมีโครงสร้างของ I-beam อยู่ระหว่างห้องลมด้านในและห้องลมด้านนอก ทำหน้าที่เสริมความแข็งแรงให้กับ SUP ช่วยให้บอร์ดสูบลมแบบ 2 ห้องลมมี Stiffness ที่ดีขึ้นกว่าบอร์ดแบบห้องลมเดียวธรรมดาถึง 37 เปอร์เซ็นต์
เทคโนโลยีการผลิตบอร์ดที่มีโครงสร้างภายนอก stringer
ไม่ใช้แค่เทคโนโลยีการผลิตแบบ 2 ห้องลมเท่านั้นแต่ยังมี Stringer Tech ที่บอร์ดของ Aquatone ซึ่งบอร์ดจะมีแถบ Stringer ถูกวางในลักษณะที่เหมือนกับสายรัดกลางบอร์ด เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้บอร์ดมี Stiffness เพิ่มขึ้นมา 15-20 % เมื่อเทียบกับบอร์ดธรรมดา จึงเป็นตัวเลือกให้กับผู้ใช้งานที่อยากได้บอร์ดสูบลมที่มีคุณภาพในราคาที่จับต้องได้
เทคโนโลยีการผลิต Double layer
เทคโนโลยีการเชื่อมประสานบอร์ดแบบ Double Layer Fusion ก็สามารถเพิ่ม Stiffness ของบอร์ดแบบสูบลมได้เช่นกัน โดยการเป็นการเชื่อมประสานที่ใช้ความร้อนทำให้เนื้อวัสดุเชื่อมติดกันแทนการใช้กาว ทำให้ได้บอร์ดยืนพายที่มีน้ำหนักเบาและเพราะการเชื่อมประสานถึง 2 ชั้นจึงช่วยให้บอร์ดมีค่า Stiffness ขึ้นมาถึง 25-30 %
บอร์ดแบบสูบลมแต่ละอันก็จะมีปริมาตรความดันที่เหมาะสมในการสูบลมที่แตกต่างกันไป ซึ่งปริมาตรของความดันนั้นก็สามารถส่งผลต่อการมี Stiffness ของบอร์ดด้วย เช่นบอร์ดสูบลมของ Aztron สามารถสูบลมได้สูงสุด 15 PSI เพื่อให้ได้บอร์ดที่มี Stiffness ที่ดีถ้าสูบลมเข้าไปในระดับที่น้อยกว่านั้นก็อาจจะได้บอร์ดที่มี Stiffness ไม่มากเท่าที่ควร
จากการทดสอบนี้จะเห็นชัดเลยว่าเมื่อสูบบอร์ดเข้าไปแค่ 10 PSI ส่งผลให้การมี Stiffness ของ SUP น้อยกว่าที่ความดัน 15 PSI ซึ่งเป็นระดับความดันที่แนะนำสำหรับบอร์ด Aquatone รุ่น Flame เพื่อประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีที่สุดของ แต่ถึงอย่างนั้นบอร์ดที่มี Stiffness ที่ดีจะไม่จำเป็นต้องอัดความดันสูงให้ได้บอร์ดที่มีประสิทธิภาพเสมอไป สามารถอัดความดันในระดับที่ต่ำลงมาได้เล็กน้อยแต่ก็ยังได้ Stiffness ที่ดีอยู่ เพราะบางครั้งการในการใช้งานจริงการอัดความดันสูงๆ นั้นสามารถทำให้คุณหมดแรงก่อนออกพายจริงได้เลย
SUP ที่มี Stiffness ดี ไม่ต้องอัดความดันสูงเสมอไป อัดความดันในระดับที่ต่ำลงมาได้ เพื่อจะไม่เป็นการเปลืองแรง
และใครที่กำลังมองหาบอร์ดยืนพายแบบสูบลมที่มี Stiffness ที่ดีที่สุด เราขอแนะนำบอร์ดยืนพายของ Aztron ที่ไม่ว่าคุณจะเลือกรุ่นไหนก็รับรองได้เลยว่าเป็นบอร์ดที่มี Stiffness ในระดับที่ดีแน่นอน
บอร์ดสูบลมทุกรุ่นของ Aztron เป็นบอร์ดแบบ 2 ห้องลม
หรือถ้าคุณเป็นสาย Budget เน้นประหยัดแต่ก็ต้องการ SUP ที่มีคุณภาพ ก็ใช้งานบอร์ดยืนพายของ Aquatone ได้เลยเพราะบอร์ดของ Aquatone นั้นแม้จะเป็นบอร์ดสูบลมที่เป็นแบบห้องลมเดียว แต่มี Stringer Tech และ มีเทคโนโลยี Double Layer Fusion ที่ช่วยให้คุณได้บอร์ดที่มี Stiffness ในระดับที่ดีได้เช่นกัน
แม้จะเป็นบอร์ดสูบลม แต่ด้วยเทคโนโลยีในการผลิตที่ดี ก็ช่วยให้ SUP แบบสูบลม มี Stiffness ที่ดีขึ้นได้เช่นกัน